บทละครเรื่องอิเหนา

ปกหน้า
Office for Mobile Application, 1 เม.ย. 2015 - 1280 หน้า

ในบรรดาบทละครรําที่คนชอบ เรื่องอื่นเห็นจะไม่เสมอด้วยเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒ วรรณคดีสโมสรก็ได้ตัดสินเมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๕๙ ว่าเป็น ยอดของบทละครรําทั้งสิ้น เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีพร้อมทั้งความ ทั้งกลอน ทั้ง กระบวนที่จะเล่นละครประกอบกันทุกสถาน ที่จริงบรรดาบทละครพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒ ก็ดีพร้อมเช่นนั้นทุกเรื่อง แต่เรื่องอื่นทรงพระราชนิพนธ์เฉพาะแต่ตอนที่จะเล่นละครหลวง มิได้ทรงทั้งเรื่องเหมือนอย่างเรื่องอิเหนาจึงผิดกัน  

 

ฉบับอื่นๆ - ดูทั้งหมด

คำและวลีที่พบบ่อย

ฯ ๆ ฯ ๐ ๆ ๑ ๑๐ ๑๕ ๑๗ ๑ ครันถึงศาลาลูกขุนใน ฯ ๑ บัดนั้น ๑ เมื่อนั้น ๒๖ ๒ คำ ๔ คำ ฯ ๘ ๑ ๘ ๘ ๘ม่ ๕ ๙5 จ ก้มเกล้าประณตบทมาลย์ ฯ ข้า ครันถึงจึงคลานเข้าไปเฝ้า ครันถึงจึงถวายบังคม ครันถึงจึงถวายอัญชลี ครันถึงลงจากอัสดร ครันถึงวังดาหาปาตี ค้า ๆ ตระ คำ ๆ คำ ฯ เจรจาบทที่ คุชา คุชา ๑ ง่ ๘ จี จึงโฉมนวลนางบาหยัน จึงมีพระราชบัญชา จึงมีมธุรสพจนา โฉมยงองค์ประไหมสุหรี โฉมยงองค์มะเดหวี โฉมยงองค์ระเด่นจินตะหรา ชาตรี เดินเอยเดินทาง ตำมะหงงเสนาผู้ใหญ่ ถวายบังคมคัลอัญชลี ทอดองค์ลงกับที่บรรจถรณ์ ท้าวกะหมังกุหนิงเรืองศรี ท้าวกาหลังสุริย์วงศ์นาถา ฯ โทน ๑ ธุ์ น่าเอยน่าสรวล ใน บทละคร บุษบาเยาวยอดพิสมัย บุษบาเยาวยอดเสนหา ประสันตาแสนกลคนขยัน ปัดนัน ปันหยีผู้มีอัชฌาสัย ปันหยีเพราเพริศเฉิดฉัน ปันหยียิมพลางทางว่า พระโฉมยงวงศ์อสัญแดหวา พระโฉมยงองค์มิสาระปันหยี พระทรงโฉมประโลมพิสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชนิพนธ์ พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ พระสุริย์วงศ์เทวัญหรรษา พระสุริย์วงศ์เทวากระยาหงัน พระสุริย์วงศ์เทวาอัชฌาสัย พระสุริย์วงศ์พงศ์อสัญแดหวา พระองค์ทรงพิภพดาหา มาจะกล่าวบทไป ม้าเอยม้าต้น มิสาระปันหยีศรีใส มิสาระปันหยีสุกาหรา เมือนัน ย่าหรันผู้รุ่งรัศมี ย่าหรันรัศมีศรีใส ย่าหรันวิลิศมาหรา รถเอยรถแก้ว ระเด่นบุษบามารศรี ระเด่นมนตรีเกษมศานต์ ระเด่นมนตรีใจหาญ ระเด่นมนตรีเฉลยไข ระเด่นมนตรีเฉิดฉัน ระเด่นมนตรีสูงส่ง ระแด่นจินตะหรามารศรี ระแด่นมนตรีใจกล้า ระแด่นมนตรีเรืองศรี ระแด่นมนตรีศรีใส ระตูจรกาเรืองศรี ระตูผู้ผ่านหมันหยา ระตูผู้ผ่านไอศวรรย์ ฯ ร่าย ร่าย ๑ ลูบไล้สุคนธาอ่าองค์ เล่ม โลม ว้ ๘ สด สมิงทอง สั สังคามาระตาขนิษฐา สังคามาระตาเฉิดฉัน สังคามาระตาเรืองศรี สังคามาระตาอัชฌาสัย สังเสร็จเสด็จคลาไคล สียะตราหนึงหรัดเรืองศรี องค์ท้าวกุเรปันเรืองศรี องค์ท้าวดาหาเรืองศรี องค์ประไหมสุหรีเฉิดฉัน องค์ประไหมสุหรีศรีใส องค์ประไหมสุหรีเสนหา องค์มะเดหวีเสนหา องค์ศรีปัตหรารังสรรค์ อิง อิเหนา อุณากรรณกระหมันวิยาหยา อุณากรรณผู้รุ่งรัศมี อุณากรรณเพราเพริศเฉิดฉัน อุณากรรณรัศมีศรีใส โอ้โลม

เกี่ยวกับผู้แต่ง (2015)

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงฟื้นฟูประเพณีและพิธีกรรมหลายอย่าง เช่น พระราชพิธีลงสรง พระราชพิธีวิสาขบูชา โดยเฉพาะพระราชพิธีอาพาธพินาศ ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้กระทำเมื่อคราวอหิวาหตกโรคระบาดใน พ.ศ. ๒๓๖๓ ได้ทรงปั้นหุ้นพระพักตร์พระพุทธธรรมิศรราชโลกธาตุดิลก ซึ่งเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม และได้ทรงแกะสลักบานประตูพระวิหารวัดสุทัศนเทพวรารามเป็นรูปธรรมชาติที่งดงามยิ่ง

"ลายสลักบานพระวิหารวัดสุทัศน์ สลักดีไม่มีที่ไหนเหมือน ยังเปนของควรชมอยู่จนทุกวันนี้ มีคำเล่ากันสืบมาว่า ช่างที่สลักบานพระวิหารวัดสุทัศน์นั้น เมื่อทำการเสร็จแล้ว ประสงค์จะไม่ให้ใครทำได้เหมือนต่อไป จึงเอาเครื่องมือทิ้งน้ำเสียหมด ความข้อนี้จะจริงเท็จอย่างไรไม่ทราบ แต่มีความจริงอย่าง ๑ ซึ่งปรากฎในรัชกาลหลังต่อมา มีพระราชประสงค์จะทำบานอย่างพระวิหารวัดสุทัศน์ไปใช้ในที่อื่น ไม่มีช่างที่จะรับทำให้เหมือนได้"

พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงบุหลันลอยเลื่อน (บุหลันเลื่อนลอยฟ้าหรือสรรเสริญพระจันทร์) เคยใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีอยู่สมัยหนึ่ง

ใน พ.ศ. ๒๕๑๑ เนื่องในวาระฉลองวันพระบรมราชสมภพครบ ๒๐๐ ปี องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก และประเทศไทยไ้ด้กำหนดให้วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพเป็น "วันศิลปินแห่งชาติ"

พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีหลายเรื่อง นอกจากนี้ยังโปรดให้ประชุมกวีช่วยกันแต่ง แก้ไข และปรับปรุงบทละครให้ไพเราะน่าฟังสอดรับกับจังหวะและกระบวนรำ

พระราชนิพนธ์
๑. บทละครนอกเรื่องอิเหนา

๒. บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอนหนุมานไปถวายแหวนจนถึงทศกัณฐ์ล้ม และตอนพระรามประพาสป่าจนถึงพระอิศวรอภิเษกพระรามกับนางสีดา

๓. บทพากย์รามเกียรติ์ ตอนนางลอย นาคบาศ พรหมาสตร์ และเอราวัณ

๔. บทจับระบำเรื่องรามเกียรติ์ ตอนพระนารายณ์อวตาร พิราพ และนารายณ์ปราบนนทุก (พิมพ์รวมอยู่ในบทละครเบ็ดเตล็ดเรื่องรามเกียรติ์)

๕. บทละครนอกเรื่องไชยเชษฐ์ ตอนนางสุวิญชาถูกขับไล่ พระไชยเชษฐ์ตามนางสุวิญชา พระไชยเชษฐ์เข้าเฝ้าท้าวสิงหล และตอนอภิเษกพระไชยเชษฐ์

๖. บทละครนอกเรื่องคาวี ตอนท้าวสันนุราชหานางผมหอม ตอนท้าวสันนุราชชุบตัว ตอนนางคันธมาลีขึ้นเฝ้า และตอนพระคาวีรบกับไวยทัต

๗. บทละครนอกเรื่องมณีพิชัย ตอนพราหมณ์ยอพระกลิ่นขอมณีพิชัยไปเป็นทาส

๘. บทละครนอกเรื่องสังข์ทอง ตอนพระสังข์หนีนางพันธุรัต ท้าวสามนต์ให้นางทั้งเจ็ดเลือกคู่ พระสังข์ได้นางรจนา ท้าวสามนต์ให้ลูกเขยหาเนื้อหาปลา พระสังข์ตีคลี และท้าวยศวิมลตามพระสังข์

๙. บทละครนอกเรื่องไกรทอง ตอนนางวิมาลาตามไกรทองมาจากถ้ำ และตอนไกรทองตามนางวิมาลากลับไปถ้ำ

๑๐. กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

๑๑. เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพลายแก้วเป็นชู้กับนางพิมถึงตอนแต่งงาน ขุนแผนขึ้นเรือน ขุนช้างถึงเข้าห้องนางแก้วกิริยา นางวันทองทะเลาะกับลาวทอง

(เรียบเรียงจาก นามานุกรมวรรณคดีไทย ชุดที่ ๒ ของมูนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา โดย ลักษณา โตวิวัฒน์ และ กุสุมา รักษมณี)

 

บรรณานุกรม