พุทธมงคลอานิสงส์

ปกหน้า
Widhaya Trisarnwadhana, 5 ธ.ค. 2004

หนังสือเล่มนี้ตั้งใจพิมพ์ขึ้นมาเพื่อแจกเป็นธรรมทานโดยไม่คิดมูลค่า เพื่อจะปลูกศรัทธาให้ผู้อ่านได้เกิดความศรัทธาเคารพบูชาที่ลึกซึ้งต่อองค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ข้าพเจ้าได้พบว่า ถ้าสอนธรรมะให้แก่คน ๒ คนเท่า ๆ กัน แต่ถ้านาย ก. มีความศรัทธาและเคารพต่อพระพุทธเจ้ามาก ส่วนนาย ข. มีความศรัทธาและเคารพต่อพระพุทธเจ้าน้อย ผลที่ออกมาจะปรากฏว่า นาย ก. นั้นจะรับธรรมะได้มาก ส่วนนาย ข. จะรับธรรมะได้น้อย ฉะนั้นจึงแสดงให้เห็นว่า ความศรัทธาความเลื่อมใสนั้นมีความสำคัญต่อความเจริญก้าวหน้าแห่งปัญญาทาง ธรรม ศรัทธาจึงเป็นบันไดขั้นต้นของเส้นทางการบรรลุธรรม เพราะเหตุนั้นนั่นเอง ธรรมะหมวด พละ ๕ อินทรีย์ ๕ จึงเอาศรัทธาวางขึ้นหน้าเป็นข้อแรก ธรรมะหมวด อริยทรัพย์ ๗ ก็เอาศรัทธาวางตั้งต้นข้อแรกเช่นเดียวกัน

พระเดชพระคุณพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี ซึ่งเป็นพระวิปัสสนาจารย์ที่มีลูกศิษย์ลูกหาเคารพนับถือมากมาย ได้กล่าวแนะนำเทคนิคเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมไว้ว่า ถ้าเราอยากจะให้ธรรมะหมวดไหนบังเกิดขึ้นที่ใจเรา ให้เอาข้อแรกของธรรมะหมวดนั้นมาเจริญให้มาก เดี๋ยวธรรมะข้ออื่นในหมวดนั้นจะบังเกิดขึ้นในใจเราครบทุกข้อไปเอง อย่างเช่น โพชฌงค์ ๗ ธรรมะที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ได้แก่ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา ธรรมะหมวดนี้จะเห็นว่าขึ้นต้นด้วยสติ ก็ให้เราเจริญสติมาก ๆ ธรรมะอีก ๖ ข้อก็จะตามมาจนครบเอง อีกตัวอย่างก็คือ บารมี ๑๐ ทัศ ประกอบด้วย ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา ก็ให้ผู้ต้องการสั่งสมบารมี บำเพ็ญทานมาก ๆ เดี๋ยวบารมีอีก ๙ ข้อจะตามมาเอง ซึ่งจากประสบการณ์ที่มีอยู่เล็กน้อยของข้าพเจ้านั้น เห็นว่าวิธีการนี้ใช้ได้ผลในภาคปฏิบัติจริง ๆ

ดังนั้น ธรรมะ ๓ หมวดสำคัญที่ขึ้นต้นด้วยศรัทธานั้น ก็ทำให้เราต้องมาเน้นความสำคัญของศรัทธา ไม่อาจละเลยไปได้ พละ ๕ คือธรรมะที่เป็นกำลังของผู้ปฏิบัติธรรม ๕ ประการ ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ส่วนอินทรีย์ ๕ คือธรรมะที่เป็นใหญ่ ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เช่นเดียวกัน สำหรับอริยทรัพย์ ๗ คือธรรมะที่เป็นทรัพย์อันประเสริฐ ได้แก่ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา ธรรมะหมวดทั้ง ๓ หมวดนี้ มีสิ่งที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ มีศรัทธาอยู่หน้า มีปัญญาอยู่ท้าย นั่นแสดงว่า ศรัทธาเป็นผู้จุดชนวนให้ลามไปถึงปัญญานั่นเอง ฉะนั้นจึงจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ที่ท่านสาธุชนจะเสริมสร้างศรัทธาให้บังเกิดแก่กล้าไพบูลย์ในจิตตน เพราะว่าธรรมะที่จะเกิดตามมาต่อจากศรัทธานั้น จะมีอีกมากมายหลายข้อ

พระพุทธเจ้าท่านตรัสสอนให้รักษาศรัทธาและปัญญา ปรับปรุงให้มีขนาดพอ ๆ กัน อย่าให้อันใดยิ่งอันใดหย่อน เพราะเหตุว่า ถ้าศรัทธามากแต่ปัญญาน้อย จะกลายเป็นคนงมงาย แต่ถ้าศรัทธาน้อยปัญญามาก จะกลายเป็นคนหัวดื้ออวดดี หนังสือเล่มนี้ประสงค์จะให้ท่านผู้อ่านกลายเป็นผู้มีศรัทธามาก แต่ไม่งมงาย

 

คำและวลีที่พบบ่อย

๐ ๘ ๑๐ ๑๐๐ ๑๒ ๑๕ ๑๖ ๑ หน ๓๘ ๓ จบ ๓ ประการ ๔ คือ กัป ขอ โข คน ครูบาอาจารย์ ความ คือ ๑ คุณ จบ จะมีความสุข จะ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง จักรวาล ฉะนั้น เช่น ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา ด้วย ดี ได้ ได้แก่ ตัง เต แต่ ถ้า ถามเธอว่า ถามว่า ทั้งหลาย ทาน ทุกข์ ทุกขัง เทวานัง ลัททัง สุต่ำวา เทวา ลัททะมะนุสสาวสุงฯ เทอญ โทสะ โทสะ โมหะ ธรรม ธัมมัง เธอก็ตอบว่า เธอตอบว่า นะ นะโม นิพพาน ใน บอกว่า บาท บาป ปัญญา ปี ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ เป็น เป็นต้น เป็นทุกข์ เปรต ไป พระ พระธรรม พระธรรม พระสงฆ์ พระพุทธ พระพุทธเจ้า พระพุทธศาสนา พระสงฆ์ พละ พุทธ พุทธ ๑ พุทธัง เพราะ ภันเต มงคลที มาก มาในอดีตชาติก็ดี ปัจจุบันชาติก็ดี มี เม เมตตา โมหะ ไม่ ย่อมมีอานิสงส์ ๕ ประการคือ โย ราคะ แล้ว และ วรรณะ ว่า วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะ ศีล ศีล สมาธิ ปัญญา สมาธิ สะระณัง คัจฉามิ สาธุ หรือ หายใจออกนับ องค์ อนันตจักรวาล อะนะนุสสุตสุ อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ เอตัมมังคะละมุตตะมัง

บรรณานุกรม